ความหมายของภาษา
ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง คำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้ โดยมีระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด ในพจนาณุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ใหความหมายของคำว่าภาษาคือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และ อวัจนภาษา
1. วัจนภาษา เป็นภาษาที่พูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำ สร้างความเข้าใจกัน มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือที่ใช้แทนคำพูด คำที่ใช้เขียนจะเป็นคำที่เลือกสรรแล้ว มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา
2. อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจางคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำได้แก่ ท่าทางการแสดงออก การใช้มือใช้แขนประกอบการพูดหรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น สัญญานไฟจราจร สัญญานธง เป็นต้น
ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม
อ้างอิง www.nungruatai11.wordpress.com
ความหมายของภาษา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616)
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2526 : 2)
1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด
2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลำดับเสียง หรือการเรียงลำดับคำในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ
4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคำพูดได้ไม่รู้จบ เราจึงไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนคำเท่าใด
ความหมายของ ภาษา อาจแยกได้เป็นความหมายโดยอรรถและความหมายโดยปริยายดังนี้
ความหมายโดยอรรถ ภาษา หมายถึง
1. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความต้องการของมนุษย์เครื่องมือดังกล่าวอาจได้แก่ เสียงพูด เสียงสัญญาณต่างๆ รูปภาพ แผนภูมิ ตัวอักษร ท่าทาง ฯลฯ การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกลุ่มชนซึ่งผู้ใช้จะต้อง เรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกันได้
2. การติดต่อ การสื่อความรู้สึก ในหมู่สัตว์ด้วยกัน ได้แก่ การใช้เสียง ท่าทาง ฯลฯ
3. วิชาการแขนงหนึ่ง ว่าด้วยการศึกษาภาษ
อ้างอิง www.l3nr.org
บันลือ พฤกษะวัน(2522, หน้า 5) ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า “คือเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายที่สำคัญที่สุดของมนุษย์” เมย์ (MAY, อ้างถึง บันลือ พฤกษะวัน ,2533, หน้า5)ได้กล่าวถึงภาษาว่า การที่มนุษย์ใช้ภาษาสื่อความหมายกันได้ ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่ามนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ นอกจากนี้ ศุภวัตน์ ชื่นชอบ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า ภาษาคือเครื่องมือการสื่อสาร (2524, หน้า1)และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2530, หน้า203)ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ดังนี้ ภาษา หมายถึง เสียงหรือกริยาอาการที่เป็นสื่อเข้าใจความหมายรู้กันได้,คำพูด,ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน โดยสรุปแล้วภาษาก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันและกันให้เข้าใจนั่นเอง
สรุป
ภาษาคำพูดหรือถ้อยคำที่เปร่งเสียงออกมาและมีความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้
ความสำคัญของภาษา
| ||
1. ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
| ||
การสื่อสารจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื้อหาของสาร | ||
จะไม่สามารถถ่ายทอดได้ถ้าไม่มีภาษา จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาคือตัวนำสาร ภาษาที่ผู้ส่งสาร
| ||
และผู้รับสารใช้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาในการเสนอ | ||
สารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร ในด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษา จะทำให้เกิดการรับรู้และ | ||
เข้าใจตรงกัน ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร จะมี 2 ลักษณะ คือ | ||
1.1 ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร | ||
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ | ||
1) วัจนภาษา (verbal language) คือ ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษร | ||
ที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็น | ||
ภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษาหรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคม | ||
ต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร | ||
ต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาและความเหมาะสมกับลักษณะการสื่อสาร, | ||
ลักษณะงาน, สื่อและผู้รับสาร เป้าหมาย | ||
2) อวัจนภาษา (non - verbal language) คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ | ||
เป็นภาษาซึ่งแฝงอยู่ในถ้อยคำ กิริยาอาการต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ | ||
แปลความหมาย เช่น น้ำเสียง การตรงต่อเวลา การยิ้มแย้ม การสบตา การเลือกใช้ | ||
เสื้อผ้า ช่องว่างของสถานที่ กาลเวลา การสัมผัส ลักษณะตัวอักษร เครื่องหมาย | ||
วรรคตอน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ | ||
ในการ สื่อสารมักมีอวัจนภาษาเข้าไปแทรกอยู่เสมอ อาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ | ||
3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา | ||
อวัจนภาษาไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากวัจนภาษา ผู้ส่งสารมักใช้วัจนภาษาและ | ||
อวัจนภาษาประกอบ เช่น บอกว่า "มา" พร้อมทั้งกวักมือเรียก เป็นต้น วัจนภาษาและ | ||
อวัจภาษามีความสัมพันธ์กันดังนี้ | ||
1. ใช้อวัจนภาษาแทนคำพูด หมายถึง การใช้อวัจนภาษาเพียงอย่างเดียว | ||
ให้ความหมายเหมือนถ้อยคำภาษาได้ เช่น กวักมือ สั่นศีรษะ เป็นต้น | ||
2. ใช้อวัจนภาษาขยายความ เพื่อให้รับรู้สารเข้าใจยิ่งขึ้น เช่นพูดว่า "อยู่ในห้อง" | ||
พร้อมทั้งชี้มือไปที่ห้อง ๆ หนึ่ง แสดงว่าไม่ได้อยู่ห้องอื่น | ||
3. ใช้อวัจนภาษาย้ำความให้หนักแน่น หมายถึง การใช้อวัจนภาษาประกอบ | ||
วัจนภาษาในความหมายเดียวกัน เพื่อย้ำความให้หนักแน่นชัดเจน ยิ่งขึ้น เช่น พูดว่า | ||
เสื้อตัวนี้ใช่ไหม พร้อมทั้งหยิบเสื้อขึ้นประกอบ | ||
4. ใช้อวัจภาษาเน้นความ หมายถึง การใช้อวัจภาษาย้ำบางประเด็นของวัจนภาษา | ||
ทำให้ความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น พาดหัวหนังสือพิมพ์ ใช้ตัวอักษรตัวโตพิเศษ แสดงว่า | ||
เป็นเรื่องสำคัญมาก | ||
5. ใช้อวัจนภาษาขัดแย้งกัน หมายถึง การใช้ภาษาที่ให้ความหมายตรงข้ามกับ | ||
วัจนภาษา ผู้รับสารมักจะเชื่อถือสารจากอวัจนภาษาว่าตรงกับความรู้สึกมากกว่า เช่น | ||
พูดว่า "โกรธไหมจ๊ะที่ผมมาช้า" ผู้รับสารตอบว่า "ไม่โกรธหรอกค่ะ" พร้อมกับมีสีหน้า | ||
บึ้งตึง ผู้ส่งสารก็รู้ได้ทันทีว่ายังโกรธอยู่ | ||
6. ใช้อวัจภาษาควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร หมายถึง การใช้กิริยา | ||
ท่าทาง สายตา น้ำเสียงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส | ||
การแสดงความดีใจที่ได้พบกัน | ||
อวัจนภาษามีผลในด้านการสร้างความรู้สึกได้มากกว่าวัจนภาษา การใช้ | ||
อวัจนภาษาจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องระมัดระวัง | ||
ถ้ารู้จักเลือกใช้อวัจภาษาเพื่อเสริมหรือเน้นหรือแทนวัจนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ | ||
จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น
อ้างอิง human.rut.at.th
ความสำคัญของภาษา
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อ สาร เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (กรมวิชาการ. ๒๕๔๕ : ๓-๖)
จำเป็นอย่างยิ่งมนุษย์ต้องอาศัยภาษาติดต่อสื่อสาร ถ้าหากขาดสาระสำคัญแล้วมนุษย์คงไม่สามารถรวมกันเป็นสังคมได้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์อาจที่จะอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง แต่จะต้องติดต่อไปมาหาสู่กันต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่าภาษาที่เขาใช้ ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่า “ภาษาเป็นเครื่องมือทางสังคม” ก็คงไม่ผิด สำหรับทักษะทางภาษาที่มนุษยชาติต่างๆ ใช้ติดต่อ สื่อสารกันก็คือ ภาษาศิลป์หรือศิลปะทางภาษานั่นเองอันได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มนุษย์อาศัยทักษะทั้ง 4 ประการที่กล่าวมานี้เสริมสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิด พัฒนาอาชีพและพัฒนาบุคลิกภาพ รวมทั้งสิ่งอื่นๆ อีกมากให้กับตนเองและสังคม ด้วยเหตุผลดังกล่าวภาษาจึงมีบทบาทและความสำคัญสำหรับบุคคลทุกคนของทุกชาติ (วรรณี โสมประยูร. ๒๕๔๔ : ๑๖)
นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรมประเพณี และสุนทรียภาพ โดยการบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่าภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป ซึ่งความสำคัญของภาษาไทย สามารถสรุปได้ว่าเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่าของบรรพบุรุษ เป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ ดั้งนั้นครูภาษาไทยจึงมีความสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตและความเป็นปึกแผ่นของสังคมไทย คนไทยจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ต้องทำความเข้าใจและศึกษาหลักเกณฑ์ของภาษาและฝึกฝนให้มีทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร การเรียนรู้ การเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันการสร้างความเป็นเอกภาพของชาติ และความจรรนโลงใจเพื่อเกิดประโยชน์แก่ตนเอง ชุมชนสังคม และประเทศชาติ (กรมวิชาการ.๒๕๔๕ : ๓-๖ )
อ้างอิงhttps://www.gotoknow.org/posts/337827
ความสำคัญของภาษา
ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"
ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "
อ้างอิง http://www.kroobannok.com
| ||
สรุป
ภาษามีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารของมุนษย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้ง่าย นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรมประเพณี และสุนทรียภาพ
ระดับของภาษา
การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ เช่น (ภาษาระดับที่เป็นแบบแผนและไม่เป็นแบบแผน),(ภาษาระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นทางการ) ในชั้นเรียนนี้ เราจะชี้ลักษณะสำคัญของภาษาเป็น ๕ ระดับ ดังนี้
๑. ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกล่าวปิดพิธี เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้มักเป็นคนสำคัญสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้าที่ประชุม
๒. ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน มีการโต้แย้งหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน
๔. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆรวมถึงการปรึกษาหารือหรือร่วมกัน
๕. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ใช้มักเป็นพื้นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด มักใช้ในการพูดจากัน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้นนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนที่ต้องการความเป็นจริง (การแบ่งภาษาดังที่กล่าวมาแล้วมิได้หมายความว่าแบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่งก็ได้)
อ้างอิงhttps://sites.google.com
ระดับของภาษา
การแบ่งระดับภาษาดังกล่าวนี้ โอกาสและบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าเรื่องอื่นๆ
1) ภาษาระดับพิธีการ
ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวสดุดี
กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่างเป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่ม การใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเรียกว่า วาทนิพนธ์ก็ได้ ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้น ถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่ง ยิ่งใหญ่จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น
2) ภาษาระดับทางการ
ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก
อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน อาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน
3) ภาษาระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลงผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย
4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป
ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา แต่ยังไม่เป็นการส่วนตัวเต็มที่ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้นอาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน จึงต้องคำนึงถึงความสุภาพมิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา
5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก
ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง ใช้พูดจากันในวงจำกัดอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัว สถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาดในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวด ฯลฯ
การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาทซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจดี
อ้างอิงhttps://krusurang.wordpress.com
ระดับภาษา
ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ๑. ภาษาระดับพิธีการ ๒. ภาษาระดับทางการ ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ ๔. ภาษาระดับสนทนา ๕. ภาษาระดับกันเอง
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลนอกจากคำนึงถึงความหมายของถ้อยคำสำนวนที่ใช้ยังต้องคำนึงถึงสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล กาลเทศะ สื่อที่ใช้ในการส่งสาร และลักษณะเนื้อหาซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับภาษาดังนี้
ภาษาระดับพิธีการใช้ในกาลเทศะที่มีพิธีการ เช่น การเปิดงานต่าง ๆ การกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้มีตำแหน่งสูง ในวงการนั้น ๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มชนใหญ่ อาจเป็นประชาชนทั้งประเทศ ลักษณะภาษาจะเป็นถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ จะมักเตรียมเป็นวาทนิพนธ์ และใช้วิธีอ่านต่อที่ประชุม
ภาษาระดับทางการใช้ในการบรรยาย การอภิปราย หรือการเขียนข้อความที่เสนอต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในวงการเดียวกัน ติดต่อกันด้วยเรื่องธุรกิจและการงาน การใช้ถ้อยคำจึงต้องกระชับ ชัดเจน สุภาพ อาจมีศัพท์วิชาการเฉพาะด้านอยู่ด้วย
ภาษาระดับกึ่งทางการใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าวและบทความที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน เนื้อหาเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น
ภาษาระดับสนทนาใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ ในกาลเทศะที่ไม่เป็นการส่วนตัว เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน กิจธุระต่าง ๆ การปรึกษาหารือกัน การเขียนจดหมายถึงเพื่อน ข่าวและบทความที่เสนอผ่านสื่อมวลชน
ภาษาระดับกันเองใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกันมาก ใช้ในกาลเทศะที่เป็นการส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากในนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนเพื่อให้สมจริงอาจมีคำคะนองและภาษาถิ่นปนอยู่
สรุป
การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ เช่น1) ภาษาระดับพิธีการ 2) ภาษาระดับทางการ 3) ภาษาระดับกึ่งทางการ 4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป 5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก
ทักษะและเทคนิคและการใช้ภาษา และลีลาการสอน
ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ
การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์
1.การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนอิริยาบท
2.การใช้มือแลแขน
ใช้มือประกอบท่าทางในการพุด ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดุดใจของนักเรียน เพราะนักเรียนสนใจดูสิ่งเคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง
3.การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
การแสดงออกทางหน้าตา สายตา เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจถึงความรู้สึก หรือเข้าใจในอารมณ์การสอน ในการสอนบทเรียนที่มีความตื่นเต้น สีหน้าของครูต้องคล้อยตามสัมพันธ์กับความรู้สึกดังกล่าวด้วย
4.การทรงตัวและการวางท่าทาง
ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ดูตรึงเครียด หรือเกรงเกินไป ควรวางท่าทางและทรงตัวขณะสอนให้ดูเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ดูปล่อยตามสบายจนเกินไป
5.การใช้น้ำเสียง
ควรใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนเหมาะสม ไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีการออกเสียงการใช้ถ้อยคำถูกต้อง ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียงเพราะโดยปกติแล้วน้ำเสียงของครูสามารถบอกอารมณ์ได้และความรู้สึกของครูได้อย่างดี ถ้าครูเสียงดีนักเรียนก้จะมีความรู้สึกที่ดีต่อครู
6.การแต่งกาย
ครูควรแต่งกายให้ถุกต้องเหมาะสมเพราะถ้าครูแต่งกายสวยเดนจนเกินไปทำให้นกเรียนจะให้ความสนใจกับครูมากกว่าบทเรียน ผู้สอนควรแต่งกายให้เรียบร้อย
อ้างอิงhttp://sontad.blogspot.com
ทักษะและเทคนิคและการใช้ภาษา และลีลาการสอน
ในการสอนของครูนั้นจะมีทักษะการสอน ทักษะคือ ความชำนาญ ความคล่องแคล่ว ว่องไว นอกจากครูมีทักษะในการสอนแล้วครูจะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่จะนำมาสอนเด็กได้ เทคนิคการสอน คือ กลวิธีในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งมีความหมายต่างจากทักษะการสอน
ทักษะการสอนสามารถแบ่งออกเป็น 18 ทักษะ และมีความสำคัญต่อการสอน เช่น ทักษะนับเป็นจุดมุ่งหมายหมวดหนึ่งของการศึกษา เป็นการส่งเสริมความชำนาญ คล่องแคล่ว หรือเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการสอน ทักษะจะช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาด ช่วยให้งานสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในการสอนครูจะต้องมีทักษะพื้นฐานในการสอน
การใช้ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน
เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน ใช้อุปกรณ์การสอน เช่น ของจริง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับบทเรียน เช่น การให้ยืนแสดงท่าทางต่างๆ สนทนาซักถามถึงเรื่องต่างๆ เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนและต้องมีการทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียน
การใช้วาจา กิริยา ท่าทางในการสอน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของครู
การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนกิริยา
ครูจำเป็นที่ต้องเดินไปหาเด็ก เดินไปเพื่อนแสดงความใกล้ชิด เด็กจะได้รู้สึกว่าครูสนใจ
การใช้มือและแขน
ใช้ประกอบท่าทางในหารพูด ซึ่งจะเป็นสิ่งดูดความสนใจของนักเรียนเพราะนักเรียนสมใจดูสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง การใช้มือและแขนควรใช้ให้สัมพันธ์กับสิ่งที่สอน
3.การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
เป็นสื่อหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจความรู้สึกหรือเข้าใจในอารมณ์อย่างไรในขณะสงบในการสอนบทเรียนที่มีความตื่นเต้น
อ้างอิงhttps://phatcom10.wordpress.com
ทักษะและเทคนิคและการใช้ภาษา และลีลาการสอน
ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ
การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์
ทักษะการใช้กริยาวาจา ท่าทางการสอน
การใช้กริยาวาจานับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของครู เพราะนักเรียนจะเกิดความพอใจและสนใจที่จะเรียน บุคลิกภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของครู รวมทั้งความสามารถในการสื่อความหมายระหว่างครูกับนักเรียน ไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย
อ้างอิงhttps://yupawanthowmuang.wordpress.com
สรุป
สรุป
ทักษะคือ ความชำนาญ ความคล่องแคล่ว ว่องไว นอกจากครูมีทักษะในการสอนแล้วครูจะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่จะนำมาสอนเด็กได้ เทคนิคการสอน คือ กลวิธีในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน